การบํารุงรักษา (Maintenance) ||
การดูแลรักษากับดักไอน้ํา (Steam trap) นั้นกระทําเพื่อควบคุมกับดักไอน้ําให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุด เพื่อให้เครื่องจักรทํางานให้อย่างมีประสิทธิภาพและป้องกันการสูญเสียพลังงาน ไอน้ําโดยไม่เกิดประโยชน์ในโรงงานนั้นๆฝ่ายที่ดูแลรักษา กับดักไอน้ํา นี้จึงถูกมอบหมายให้ทําหน้าที่นี้โดยตรงผู้ที่ทําหน้าที่ในส่วนนี้ควรจะต้องมีความรู้เรื่อง หลักการทํางานของระบบไอน้ํา ส่วนเชื่อมต่อกับ เครื่องจักรที่ใช้ไอน้ํา และ ที่สําคัญคือ กับดักไอน้ํา
กับดักไอน้ํา (Steam trap) นี้เป็นส่วนสําคัญของระบบไอน้ํา ที่มีผลโดยตรงกับการประหยัดพลังงาน แต่ โดยทั่วไป โรงงานมักมองว่า กับดักไอน้ํา (Steam trap) เป็นอุปกรณ์ที่มีราคาสูงและลงทุนที่สูง และละเลยไม่ได้ ให้ความสําคัญอย่างเพียงพอ คํานึงถึงแต่ด้านราคา เลือกซื้ออุปกรณ์ราคาต่ํา ซึ่งเป็นผลทําให้ประสิทธิภาพของ ระบบไอน้ํา อุปกรณ์ดักจักไอน้ําลดลง สูญเสียไอน้ํา และเป็นการลงทุนในอุปกรณ์ที่ไม่คุ้มค่า หรือไม่ประหยัด พลังงาน
ในปัจจุบัน กับดักไอน้ํา (Steam trap) จึงเป็นตัวแปรสําคัญในการช่วยให้ประหยัดพลังงาน ไอน้ํา กับดักไอน้ําที่ใช้งานนั้น จะมีประสิทธิภาพต่ําลงตามอายุการใช้งาน หรือในทางกลับกัน กับดักไอน้ํา ทุกตัวจะมี ประสิทธิภาพและทํางานลดลงตามระยะเวลาทํางาน และอายุการใช้งานของมัน ไม่สามารถกําหนดเป็น ระยะเวลาตายตัวว่าเมื่อใดจะเสีย ประการนี้ เป็นปัญหาใหญ่สําหรับกับดักไอน้ําที่ใช้ในโรงงาน ดังนั้น จึง จําเป็นต้องมีหน่วยงานที่ดูแลและตรวจสอบเพื่อให้ระบบไอน้ําและเครื่องจักรไอน้ําทํางานอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งหมดนี้เป็นมูลเหตุที่ผู้ดูแลจําเป็นต้องเข้าใจในกับดักไอน้ํา
กับดักไอน้ํา (Steam trap) เสีย หมายถึง การที่กับดักไอน้ํา (Steam trap) ไม่สามารถทํางานได้หรือ ทํางานผิดหน้าที่ซึ่งหน้าที่ กับดักไอน้ํา (Steam trap) มี 3 หน้าที่คือ
1) การระบายคอนเดนเสท (Condensate)
2) ป้องกันการสูญเสียไอน้ํา
3) ระบายอากาศ หรือก๊าซที่ไม่เกิดการกลั่นตัว
ถ้าเราพบว่ากับดักไอน้ํา (Steam trap) ทํางานไม่ครบหน้าที่ เราสามารถกําหนดวิธีตรวจสอบปัญหาได้ โดยขั้นแรกของการตรวจสอบ คือการสังเกตอาการและการทํางานของ กับดักไอน้ํา (Steam trap)ลักษณะการไม่ทํางานของกับดักไอน้ําแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม
1) อาการอุดตัน (Blockage) คือ อาการของ กับดักไอน้ํา (Steam trap) ที่รูระบายไม่เปิดทําให้ไม่ ระบาย Condensate และอากาศออกจากระบบ
2) อาการรั่วไหลอย่างมาก (Steam blowing) คือ อาการที่รูระบายไม่สามารถปิดได้ ทําให้ระบาย น้ําและไอน้ําออกตลอดเวลา ทําให้สูญเสียปริมาณไอน้ํามาก
3) อาการรั่วไหล (Steam leakage) คือ อาการที่มีการรั่วไหลของไอน้ําในการทํางาน ของกับดักไอ น้ํา (Steam trap) ทําให้มีการสูญเสียไอน้ํามากเกินความเป็นจริง
4) อาการระบายไม่ทัน (Insufficient discharge) คือ การระบายของ Condensate ไม่เพียงพอ (ไม่ ทัน) ทําให้ Condensate ย้อนกลับในระบบ ผลคือทําให้ประสิทธิภาพเครื่องจักรที่ใช้ไอน้ํามีการถ่ายเทความร้อน ลดลง หรือประสิทธิภาพลดลง
ลักษณะต่างๆที่กล่าวมานี้ เป็นส่วนที่สําคัญที่ใช้เป็นตัวตั้งในการวิเคราะห์อาการของ กับ ดักไอน้ํา (Steam trap) ที่เสีย โดยใช้เป็นมูลเหตุในการสังเกต เพราะมีหลายปัญหาสามารถทราบได้จากการ สังเกต ซึ่งการวิเคราะห์อาการของกับดักไอน้ํานั้นสําคัญ เพราะจะทําให้รู้ว่า กับดักไอน้ํา (Steam trap) เสียเพราะ อะไร เมื่อทราบผลการวิเคราะห์จากโปรแกรมโดยละเอียดแล้ว เราควรศึกษาอาการและวิธีแก้ไข ซ่อมแซม ถึง จะได้อธิบายการวิเคราะห์แต่ละลักษณะต่อไป