ความสำคัญของมาตราฐานวิศวกรรม (Industrial Standard)

             หลายๆคนที่ทำงานในด้านงานอุตสาหกรรมคงจะหนีไม่พ้นคำว่า “มาตราฐาน” หรือ “Standard” ซึ่งเจ้ามาตราฐานนี้แหละครับถือเป็นตัวกำหนดทั้งคุณภาพ ความเชื่อมั่น ให้แก่งานอุตสาหกรรมของเรา ซึ่งแต่อุตสาหกรรมก็จะมีความแตกต่างกันไม่มากก็น้อยนะครับ โดยมาตราฐานที่เราคุ้นเคยกันบ่อยๆ ก็จะเป็น ASME, ANSI, API, ISO, DIN, JIS, DIN, TISI และอื่นๆอีกมากมายครับ

          โดนรายละเอียดของการกำหนดมาตราฐานก็จะมีหลากหลายด้านด้วยกันตั้งแต่ การออกแบบ, การใช้งาน ,การตรวจสอบและดูแลรักษา ซึ่งเรื่องพวกนี้ก็จะสะท้อนกลับมาเป็นด้านของต้นทุนการผลิตในโรงงานต่างๆกันครับ

           แต่ที่แน่ๆเลยว่า “การทำงานซักหนึ่งงานเนี่ย” เพื่อนๆรู้ไหมว่ายังไงเราก็ต้องมีมาตราฐานในการอ้างอิงนะครับ หรือสมัยนี้ก็จะมีศัพท์ที่เรียกว่า Code of Practice นะครับ ที่เราจะต้องยึดถือในการทำงานช่าง วิศวกรรม และอุตสาหกรรม ครับผม งั้นเราลองมาดูรายละเอียด

มาตราฐาน (Standard) คืออะไร ?

          ในการทำงานเพื่อนๆอาจจะได้ยินคำนึงที่ค่อนค้างคุ้นหูว่า “Code ตัวไหน?” “มาตราฐานอะไร?” “API เบอร์ไหน?” ซึ่งคำเหล่านี้แหละคำ คือ คำว่า มาตราฐานด้วยกันทั้งสิ้น แต่ผมขอสรุปนิยามของคำว่า “มาตราฐาน” ก่อนเลยนะครับ

           โดยคำว่า “มาตราฐาน” หรือ “Standard” คือ “สิ่งที่ถือเป็นหลักสำหรับเทียบกำหนดในด้านปริมาณ และคุณภาพ” และ “สิ่งที่ถือเป็นเกณฑ์สำหรับรับรองกันทั่วไป” ซึ่งจะถือเป็นสิ่งที่เราใช้ในการยึดถือ ปฏิบัติ และยอมรับร่วมกัน

            ยกตัวอย่างเช่น สมมุติเราเถียงกันปัญหาหนึ่งปัญหาขึ้นมา แต่ทว่า จริงๆเราไม่สามารถตั้งกฏของชั้น กฏของเค้า ขึ้นมาเองได้นะครับ เราจะต้องมีมาตราฐานในการอ้างอิงเสมอ (ซึ่งก็เป็นสิ่งที่วิศวกร และช่าง ต้องยึดถือปฏบัติ พูดง่ายๆคือ เถียงเรา เถียงได้ แต่เถียง code standard เถียงไม่ได้นะค้าบบบบ ^^) เช่น ระยะของปลายเกียว Stud bolt จะต้องยื่นออกมาจาก Nut ขั้นต่ำกี่เกลียว ???

           ปัญหานี้เพื่อนๆอาจจะบอกยิ่งยาวก็ดีแต่จะไปเกะกะขวางทางพื้นที่ในโรงงาน แต่ถ้าสั้นไปเกิดมีการคลายตัวนิดเดียวก็หลุดแล้วใช่ไหมครับ สมมุติเราตอบ 1 เกลียว คำตอยนี้อาจจะถูกในโรงงานน้ำปลา แต่อาจจะผิดในโรงงานกลั่นน้ำมันก็ได้นะครับ ซึ่งต้องถามกลับว่าโรงงานนั้นๆยึดถือมาตราฐานอะไร เช่น ASME , ISO หรือแม้กระทั่ง มาตราฐาน และข้อกำหนดของโรงงานนั้นๆเองนะครับ

            ซึ่ง ณ ปัจจุบัน ในอุตสาหกรรมประเทศไทย ก็มีการกำหนด Code of practice ที่เป็นตัวกำหนดว่า งานประเภทไหนที่เราจะต้องยึดเป็นหลักปฏบัติ เพราะว่า หลายๆครั้งการใช้มาตราฐาน หรือ Code ที่ผิดอาจจะส่งผลกระทบระยะยาว และก่อให้เกิดอุบัติเหตุอย่างรุนแรงภายหลังขึ้นได้นะครับ

มาตราฐานอุตสาหกรรมมีอะไรบ้าง (Industrial Standard)

             มาตราฐานในอุตสาหกรรม เรียกว่า มีหลากหลาย Code หลากหลาย Standard มากๆเลยนะครับ แต่หลักๆขอคุยแนวคิดเบื้องต้นก่อนว่า เจ้ามาตราฐานเนี่ยส่วนใหฐ่ก็จะติดมากับลักษณะโรงงานนั้นๆเช่น สมมุติเราไปทำงานในโรงกลั่น้ำมันปิโตรเคมี ที่มีการออกแบบจากฝั่งอเมริกา (หรือที่ชอบเรียกว่า Licensor) เราก็จะเจอคำว่า ASME (American Society Mechanical of Engineering), API (American Petroleum Institute) แต่ถ้าเราไปเจอโรงงานผลิตชิ้นส่วน หรือไลน์การผลิต ก็จะเจอมาตราฐาน JIS (Japanese Industrial Standards) นะครับ

ซึ่งในบทความนี้ผมขอยกตัวอย่างมาตราฐานที่นิยมใช้ และยอมรับกันโดยทั่วไปด้านล่างนี้เลยนะครับ

ISO : International Standard Organization

DIN : Deutsches Institut für Normung (มาตราฐานเยอรมัน)

JIS : Japanese Industrial Standards หรือ JIS

TISI (มอก) : Thai Industrial Standards Institute

ASME : American Society Mechanical of Engineering

ANSI : American National Standards Institute

API : American Petroleum Institute (ใช้ในสายโรงกลั่นปิโตรเคมี)

NFPA : National Fire Protection Association (ใช้ในระบบดับเพลิง)

FM : (Factory Mutual) Global 

UL : Underwriters’ Laboratories Inc.  

SEI : Safety Equipment Institute

และอื่นๆอีกมากมายยิบย่อยภายใต้มาตราฐานใหญ่นะครับ และไม่รับรวมตามพวกมาตราฐานที่ถูกกำหนดโดยแต่ละบริษัทอย่างเช่น ShellEP, Checvron Standard ต่างๆครับผม

error: Content is protected !!