รู้จักพลาสติกแต่ละประเภท

วาล์วและฟิตติ้งพลาสติกเป็นท่ีนิยมใช้กันอย่างมากในปัจจุบันทั้งในการส่งของเหลวท่ัวไป อุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมยาการส่งเชื้อเพลิงเหลว และ เชื้อเพลิงก๊าซ และ ในระบบนํ้าเสียใต้ดิน เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากท่อพลาสติกมีราคาถูก มีความแข็งแรงทนทานเพียงพอต่อการใช้งานทั่วไป และ ทนต่อการกัดกร่อนโดยสารเคมีหลายประเภท

ข้อดี ของพลาสติกคือ

  1.  ทนต่อการกัดกร่อนของสิ่งปฏิกูลดี  
  2. สามารถผลิตมาให้มีความยาวต่อเนื่องมากๆ  
  3. นํ้าหนักเบา
  4.  ผิวท่อราบลื่น
  5.  ราคาถูก

ข้อเสีย ของพลาสติกคือ

  1.  มีความอ่อนตัว ทําให้ต้องมจุดรับท่อถี่กว่าท่อชนิดอื่น
  2.  ไม่ทนต่อ แสงอาทิตย์ (ยกเว้นท่อท่ีเติมสารป้องกัน UV)
  3.  ไม่ทนต่อ สารทําละลาย
  4.  ไม่ทนไฟ
  5.  รับความดันได้น้อยเมื่ออณุหภูมิสูง
  6.  พลาสติกบางชนิดจะผลิตก๊าซ หรือ ควันที่มีพิษเมื่อเกิดการเผาไหม้

ท่อพลาสติกมีหลายชนิดซึ่งแต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกันโดยแบ่งเป็นประเภทหลักสอง ประเภทคือ เทอร์โมเซท (Thermoset – TS) และเทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic – TP) พลาสติก แบบเทอร์โมเซทจะมีลักษณะแข็งอย่างถาวรขึ้นรูปใหม่ไม่ได้ เช่น อีพอกซี่(Epoxy) เมลามีน (Melamine) และ เพโนลิก (Phenolics) ส่วนเทอร์โมพลาสติกจะนิ่มและละลายเมื่ออุณหภูมิสูง และกลัมมาแข็งตัวเมื่ออุณหภูมิลดลงสามารถหลอมละลายและข้ึนรูปใหม่ได้ ท่อพลาสติกส่วนใหญ่ เป็นวัสดุแบบเทอร์โมพลาสติกได้แก่

ท่อพีวีซี (Polyvinyl chloride – PVC)

พีวีซีเป็นพลาสติกที่แข็งแรงท่ีสุด และ ใช้งานมากท่ีสุด แต่ไม่ทนต่อสารละลาย มีใช้ทั้งในงาน ท่อที่ต้องรับความดัน และท่อท่ีไม่รับความดัน เป็นท่อท่ี NSF ยอมรับให้ใช้เป็นท่อส่งน้ําดื่มได้ ใช้ใน งานส่งนํ้าประปา และ ท่อนํ้าเสียอุณหภูมิใช้งานไม่เกิน 65°C ในต่างประเทศมีระดับความหนาที่ สเก ดูล 40 และ 80 มีเส้นผ่านศูนย์กลางระบุตั้งแต่ DN15 ถึง DN500 การต่อท่อสเกดูล 40 จะใช้ข้อต่อ สวมและกาวประสาน หรือใช้ข้อต่อสวมเร็วที่มีซีลในตัว ส่วนสเกดูล 80 จะสามารถใช้การต่อแบบ เกลียวได้ด้วย ท่อชนิดนี้จะไม่ติดไฟแต่ขณะถูกเผาจะเกิดก๊าซท่ีเป็นพิษ มีการผลิตท่อพีวีซีท่ีทนความ ร้อนได้สูงขึ้นเรียกว่า ซีพีวีซี (Chlorinated polyvinyl chloride – CPVC) ซึ่งได้รับการเพิ่มสาร คลอรีนในโครงสร้างเพื่อทําให้ทนอุณหภูมิสูงขึ้นเป็น 90°C

ท่อPVC ที่ผลิตขึ้นตามมาตรฐานมอก.17-2532(ส่วนใหญ่เป็นสีฟ้าหรือสีขาว)เป็นท่อท่ี นิยมนํามาใช้ในงานสุขาภิบาลในอาคาร รหัส PVC-5, PVC-8.5 และ PVC-13.5 เป็นการระบุถึง ความสามารถในการรับแรงดันของท่อ มีหน่วยเป็น bar หรือ kg/cm2 ซึ่งหากใช้งานเป็นท่อประปา หรือท่อท่ีรับแรงดัน จะใช้ ท่อ PVC-8.5 และ PVC-13.5 ส่วนท่อน้ําทิ้งท่ีไม่ต้องรับแรงดันสามารถใช้ ท่อ PVC-5 ได้ ท่อ PVC เหมาะสําหรับใช้งานภายในอาคารหรือในท่ีร่มเท่าน้ัน ไม่ควรใช้กับภายนอก อาคารที่ต้องสัมผัสกับแสงแดด

ท่อพีพี (Polypropylene – PP)

ท่อพีพีมีความทนทานต่อสารประกอบซัลเฟอร์ และทนต่อตัวทําละลายประเภทออร์แกนิกดี ที่สุดในบรรดาพลาสติกท้ังหมด มีความแข็งน้อยกว่าท่อพีวีซีเล็กน้อย มีคุณสมบัติท่ีดีกว่าท่อพีอีในย่าน อุณหภูมิสูง มักใช้ในงานท่อน้ําทิ้งจากห้องทดลอง นอกจากน้ีในท่อท่ีไม่มีการเติมเม็ดสีก็ยังใช้ในงานส่ง นํ้าบริสุทธิด้วย มีระดับความหนาที่สเกดูล 40 และ 80 การต่อท่อทําเหมือนท่อพีวีซี และยังมีการต่อ แบบใช้ความร้อน (Heat fusion) ด้วย ปัจจุบันมีการพัฒนาท่อ PP-R (Polypropylene Random Copolymer) ซึ่งมีคุณสมบัติทางเคมีและกายภาพท่ีดีข้ึนเหมาะสมสําหรับการใช้งานระบบท่อ นํ้าประปา ท่อนํ้าร้อน ท่อนํ้าเย็น และงานท่อประเภทอื่นๆ

ท่อพีอี (Polyethylene – PE)

ท่อพีอีบางคร้ังรู้จักในชื่อโพลโอเลฟิน เป็นท่ีนิยมใช้ทั่วไปเพราะมีความเหนียว ทนทาน ยืดหยุ่นสูง และสามารถช่วยลดแรงกระแทกของนํ้าได้ ใช้งานได้ถึงอุณหภูมิประมาณ 80°C ใช้ในงาน เดินท่อนํ้าและท่อก๊าซใต้ดิน สามารถใช้เป็นท่อ ส่งน้ำดื่มได้ และยังใช้กับระบบท่อนํ้าทิ้งด้วย นอกจากนั้นยังใช้เป็นท่อร้อยสายไฟ และท่อส่งนํ้าเพื่อการเกษตร ท่อพีอีมีความแข็งแรง (Strength) น้อยกว่าท่อพลาสติกชนิด อื่น

ปัจจุบันท่อ HDPE (High Density Polyethylene) ตามาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(มอก.982-2548)ได้ถูกแบ่งชั้นคุณภาพของวัสดุออกเป็น3ชั้นคือPE63 PE80 และPE100โดยPE100 เป็นวัสดุท่ีมีความแข็งแรงที่สุดท่อท่ีผลิตจากวัสดุPE100จะมีผนังท่อจะบางกว่ามีน้ําหนัก เบากว่า พื้นท่ีการไหลของน้ํามีมากข้ึนกว่าท่อขนาดเดียวกันท่ีผลิตจากวัสดุ PE63 และ PE80 แต่ต้อง ขุดฝังลึกมากข้ึนเนื่องจากผนังท่อบางกว่า เมื่อผลิตมาเป็นท่อแล้ว จะแบ่งระดับความหนาของท่อเป็น ช้ันความดันต่างๆเช่น PN3.2 PN4 PN6.3 PN8 PN10 PN12.5 PN16 PN20 และ PN25 (รับแรงดัน ได้ 3.2bars ถึง 25bars ตามลําดับ) มีทั้งแบบเป็นท่อตรง และเป็นม้วน การต่อท่อทําโดยวิธีให้ความ ร้อน (Heat fusion)

ท่อฟลูโอโรพลาสตกิ (Fluoroplastics)

ฟลูโอโรพลาสติกเป็นเทอร์โมพลาสติกที่มีโมเลกุลของไฮโดรเจนบางส่วนหรือท้ังหมดถูก แทนที่ด้วยฟลูโอรีน มีอุณหภูมิใช้งานสูงกว่า 150°C จัดเป็นท่อพลาสติกกลุ่มท่ีมีราคาสูงที่สุด แบ่งเป็นชนิดย่อยๆคือ

ท่อเทฟล่อน (Polytetrafluoroethylene – PTFE) มีผิวลื่นมาก ใช้ในระบบส่งจ่ายนํ้าท่ัวไป ท่อส่งอาหารยา สารเคมี ระบบแลกเปลี่ยนความร้อน และระบบน้ําทิ้งท่ีมีสารเคมี ทนความร้อนสูงกว่า 200°C ทนต่อแสง UV มีทั้งแบบท่อแข็งและเป็นม้วน การต่อท่อมีทั้งแบบใช้ ความร้อนละลายให้ติดกัน ใช้เกลียว และแบบไทรแคลมป์

ท่อพีวีดีเอฟ (Polyvinylidene fluoride – PVDF) โมเลกุลของไฮโดรเจนบางส่วนถูกแทนท่ี ด้วยฟลูโอรีนมีความทนทานต่อกรดและอนนิทรีย์ทนต่อสารอโรมาติกไฮโรคาร์บอน ฮาโล เจน (ยกเว้นฟลูโอรีน) อัลกอฮอล์ และสารละลายฮาโลเจน ไม่ทนต่อสารอัลคาไล คีโตน และ แอมมีน ท่อที่จัดอยู่ในกลุ่มพีวีดีเอฟคอื ETFE CTFE ECTFE และ Kynar ใช้ในอุตสาหกรรม อาหารและยา การต่อ ท่อ มีทั้งแบบใช้ความร้อนละลายให้ติดกัน ใช้เกลียว และแบบไทรแคลมป์

ท่อโพลีบิวทิลนี (Polybutylene-PB) โพลีบิวทิลีนมีความแข็งน้อยกว่าพีอีเล็กน้อยแต่มีความแข็งแรงมากกว่าHDPE ทนต่อการ เสียดสี และการคราก มีความยืดหยุ่นสูง มีความแข็งแรงท่ีไม่ลดลงตามอุณหภูมิที่เพิ่มข้ึน ทน ต่อสบู่ กรด ด่าง และตัวทําละลายที่อุณหภูมิต่ำ ไม่ทนต่อสาร อโรมาติก และสารทําละลาย ประเภทคลอรีน ใช้ในงานระบบท่อนํ้าเป็นส่วนใหญ่ กรณีที่ใช้เป็นท่อน้ําดื่มจะมีคุณสมบัติ ตามมาตรฐาน มอก.910-2532 พิกัดอุณหภูมิใช้งานประมาณ 80°C มีการผลิตเป็นม้วน ท่ีขนาดเส้นผ่านสูงกลางใหญ่ท่ีสุด DN50 และเป็นท่อตรงถึง DN450 การต่อท่อทําได้โดยการ ใช้ความร้อนละลายท่อให้ติดกัน ใช้ท่ออ่อนและสายรัด บานท่อและต่อด้วยเกลียว

error: Content is protected !!