รู้จัก Pinch Valve กับอุตสาหกรรมอาหาร

หัวใจสำคัญของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มคือการส่งมอบอาหารและเครื่องดื่มให้ถึงมือผู้บริโภคด้วยความสะอาดปลอดภัยและถูกสุขอนามัยซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคนอกเหนือจากความจงรักภักดีที่ผู้บริโภคมีต่อแบรนด์นั้นๆ

อย่างไรก็ตาม ในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ร่างกายมนุษย์ถือเป็นสิ่งที่มีความเสี่ยงและไวต่อการปนเปื้อนของเชื้อโรค ซึ่งอาจส่งผลต่อคุณภาพของกระบวนการผลิตเนื่องจากทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิต รวมถึงอุปกรณ์ทุกชิ้นที่ใช้ในกระบวนการผลิตต้องมีคุณภาพ ได้มาตรฐานตามหลักสากล

สำหรับกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มสมัยใหม่ที่มีการประยุกต์ใช้กระบวนการผลิตอาหารแบบอัตโนมัติ (Automated Food) ที่จำเป็นต้องใช้ Handling Equipment ซึ่ง ‘พินช์วาล์ว’ (Pinch Valves) ถือเป็นส่วนประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของระบบการผลิตในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มที่มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ทว่าการใช้งาน ‘พินช์วาล์ว’ อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดนั้น มีปัจจัยสำคัญที่ผู้ประกอบการ หรือเจ้าของกิจการต้องพิจารณา ดังนี้

  • ปลอดการปนเปื้อน (Non – Contamination)
  • ป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรียอันไม่พึงประสงค์ (Prevention of Undesired Bacteria)
  • ติดตั้ง บำรุงรักษาและเปลี่ยนชิ้นส่วนได้ง่าย (Easy Installation, Maintenance and Replacement)

ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการใช้งานพินช์วาล์วของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

การตอบสนองที่ไวต่อสิ่งปนเปื้อนของร่ายกายมนุษย์ เป็นปัจจัยที่ต้องได้รับพิจารณาถึงอย่างสำคัญที่สุด เนื่องจากมีผลต่อสุขภาพของผู้บริโภคและอาจทำลายภาพลักษณ์ของสินค้า หากเกิดการปนเปื้อนในระบบการลำเลียง ท่อ ปั๊มหรือวาล์ว รวมถึงสารหล่อลื่นในระบบ ซึ่งอาหารอาจจะต้องสัมผัสโดยตรง จะเห็นได้ว่าวงการอาหารและเครื่องดื่มส่วนใหญ่จะติดฉลากไว้บนบรรจุภัณฑ์ว่า ‘ปลอดสารไนเตรท’ เพื่อหลีกเลี่ยงความเข้าใจผิดที่อาจเกิดขึ้นเกี่ยวกับสารปนเปื้อน หรือแม้แต่การใช้ Bleach เพี่อทำความสะอาดระบบท่อเพื่อกำจัดกับ Salmonella ที่เป็นปัญหากับเนื้อสดและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในกระบวนการผลิตก็ตาม

การเจริญเติบโตและการแพร่ขยายของเชื้อแบคทีเรียอันไม่พึงประสงค์ เช่น E.Colli หรือ Salmonella ถือเป็นปัญหาอย่างมากในระบบการผลิตและแปรรูปอาหาร ซึ่งโอกาสที่เครื่องไม้ เครื่องมือจะเป็นต้นเหตุในการเพาะเชื้อและสัมผัสอาหารโดยตรงนั้นก็มีเช่นกัน ดังนั้นปัจจุบันอุปกรณ์สำหรับ Automated เหล่านั้น มักถูกบรรจุมาในถุงที่ผ่านการสเตอริไลซ์เพื่อลดการปนเปื้อน และการใช้งานจะมีการใช้วัสดุที่ 3 เช่น ท่อส่งทำหน้าที่เป็นตัวกลางที่ทำให้วาล์วไม่ต้องสัมผัสกับอาหารโดยตรง

การบำรุงรักษาถือเป็นเรื่องจำเป็นและต้องดำเนินการตามระยะเวลาที่กำหนดเป็นมาตรฐาน ซึ่งอุปกรณ์อย่าง ‘พินช์ วาล์ว’ ไม่จำเป็นต้องสัมผัสกับอาหารโดยตรง สามารถดำเนินการผ่านท่อหรือแผ่นกรอง การซ่อมบำรุงจึงสามารถทำได้ง่ายและสม่ำเสมอ โดยไม่จำเป็นต้องปิดระบบการทำงานทั้งหมด ทำให้ประหยัดเวลาและทรัพยากรเมื่อเทียบกับระบบการผลิตแบบเดิม

ข้อจำกัดของพินช์วาล์ว

‘พินช์วาล์ว’ มีการใช้งานที่เฉพาะเจาะจง ตัวโซลินอยด์นั้นเป็นระบบไฟฟ้า และวาล์วเป็นแบบ Pneumatic ซึ่งได้รับการออกแบบมาให้รองรับกับแรงดันอากาศแบบแปรผัน โดยการส่งต่อวัตถุดิบนั้นจะเป็นการส่งต่อหรือผ่านตัวกรอง แต่จะไม่ให้สัมผัสโดยตรงกับผลิตภัณฑ์ปลายทาง แรงดันทั่วไปอยู่ที่ 20 – 30 psi สำหรับขนาด 65 – A และสามารถใช้ได้ถึง 80 psi สำหรับขนาด 75 – A ต้องหมั่นสังเกตการทำงานควบคู่กัน ระหว่างแรงดันวาล์วและขนาดท่อ เพื่อสังเกตดูผลการเปลี่ยนแปลงก่อนที่จะนำมาปรับปรุงการใช้งำนให้เหมาะสมรวมถึงการซ่อมบำรุงรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที

นอกจากนี้ ยังมีกระบวนการผลิตและแปรรูปอาหารอีกมากมายที่เครื่องมือนั้นสัมผัสกับวัตถุดิบหรืออาหารโดยตรง ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงทั้งทางด้านการปนเปื้อนและเป็นแหล่งเพาะเชื้อแบคทีเรียได้เป็นอย่างดี ‘พินช์วาล์ว’ จึงถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการใช้งานในกระบวนการผลิตและแปรรูปอาหาร ซึ่งมุ่งเน้นความปลอดภัย โดยปัจจุบันนิยมใช้ในงานการผลิตทางด้านเภสัชกรรม ซึ่งการใช้ ‘พินช์วาล์ว’ ในการผลิต ถือเป็นส่วนประกอบที่ดีสำหรับมาตรฐานการผลิตและแปรรูปอาหารในอนาคต

error: Content is protected !!