การเดินท่อ ที่มีการเปลี่ยนทิศทาง จําเป็นต้องใช้ข้อต่อเพื่อความราบเรียบของการไหล ข้อต่อ หลายลักษณะซึ่งถูก ออกแบบสําหรับการต่อ ด้วยวิธีการต่างๆกัน ดังตัวอย่างในรูปที่ 2.6 ถึง 2.8
การต่อด้วยการเชื่อมสําหรับท่อเหล็ก
การเชื่อมนิยมใช้ในการต่อท่อเหล็กเหนียว และท่อสแตนเลส ซึ่งการต่อมีท้ังการเชื่อมแบบต่อชน (Butt welding) และการเชื่อมโดยใช้ข้อต่อหรือปลอกสวม (Sleeve) ดังแสดงในรูปท่ี 2.9 การต่อ ด้วยการเชื่อมเป็นวิธีการที่มีต้นทุนตํ่า และทําได้สะดวก แต่จะไม่สะดวกในการถอดเพื่อซ่อมแซม ข้อต่อและข้องอที่ใช้จะเป็นข้อต่อสําหรับงานเชื่อม (ตามรูปที่ 2.6 และ 2.7)
การต่อด้วยเกลียวสําหรับท่อเหล็กขนาดเล็ก
การต่อท่อเหล็กเหนียวและท่อสแตนเลสขนาดต่ำกว่าDN80 นิยมต่อด้วยเกลียวซึ่งในการติดตั้งจะต้องทําเกลียวตัวผู้ลงบนผิวด้านนอกของปลายท่อ โดยเกลียวที่ใช้จะมีปลายเรียว (Tapered) และใช้ข้อแบบเกลียวซึ่งมีเกลียวตัวเมียอยู่ เกลียวท่ีใช้มีขนาดมาตรฐาน โดยใช้ตัวย่อว่า NPT (National Pipe Thread Taper) ตามมาตรฐาน ASME B1.20.1 ปลายเรียวที่เกลียวจะมอีอัตรา 1:16 กล่าวคือเส้นผ่านศูนย์กลางของเกลียวลดลง 1 มม. ทุกๆระยะตามแนวแกน 16 มม. ตามรูปท่ี 2.10 แม้การต่อแบบเกลียวจะดูเหมือนสามารถถอดออกได้ แต่การถอดจะต้องถอดจากท่อปลายสุดไล่ต่อๆ กันไป เว้นแต่จะทําการใส่ข้อต่อยูเนี่ยน (รูปท่ี 2.11) ซึ่งเป็นข้อต่อแบบพิเศษที่สามารถถอด-ประกอบ ได้โดยไม่ต้องถอดข้อต่ออื่นรอบๆ